บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

ที่มาของแหล่งข้อมูล

http://20088arriya.blogspot.com/p/blog-page_37.html http://dairydevelopmentprogram.weebly.com http://kannikar.wikispaces.com https://th.wikipedia.org/wiki

ชั่งหัวมัน หมายถึง

รูปภาพ
" ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งนำหนักหัวมันเทศ พื้นที่ตั้งนี้อยู่ที่ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี คุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาพระราชวัง ได้กรุณาให้ข้อมูลที่มาของโครงการชั่งหัวมันว่า ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสร็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บนตาชั่งโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่ามันเทศที่วางไว้บนตาชั่งมีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนี้ ไปปลูกไว้ในกระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หาพื่นที่

เป้าหมายของโครงการชั่งหัวมัน

เป้าหมาย เป้าหมายโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์ร่วมพืชเศรษฐกิจของ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชที่ดีที่สุดของท้องถิ่นเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด คุณดิสธร บอกว่าโครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปเข้าชม ที่ตั้งของโครงการอยู่ที่ บ้านหนองคอไก่ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี พืชสวนครัวที่ปลูกได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก กระเพรา โหรพา มะนาวแป้น ผักชี ผลไม้ ได้แก่ สัปรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันเทศออสเตรเลีย มันต่อเผือก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ชิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวหอมข้าวเจ้าพันธุ์ลีซอ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่เพชร

ผลิตภัณฑ์จากโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
ผลิตภัณฑ์นมโค สเตอริไลส์  จากโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี “โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ”  มีจุดเริ่มต้นเมื่อครั้งที่  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เสด็จไปประทับที่วังไกลกังวล แล้วมีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย เมื่อต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เลยรับสั่งให้เจ้าหน้าที่นำหัวมันเทศนั้นไปวางไว้บนตาชั่งในห้องทรงงาน ต่อมาเมื่อพระองค์ฯ เสด็จกลับมาหัวหิน ทรงพบว่ามันเทศนั้นได้แตกใบ เลยตรัสว่า  “มัน อยู่ที่ไหนก็ขึ้น”  จึงมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดิน เพื่อทำโครงการด้านการเกษตร และทรงพระราชทานพันธุ์มันเทศที่งอกออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานที่ ให้นำมาปลูกไว้ที่ที่ดินแปลงนี้ พร้อมทั้งพระราชทานชื่อโครงการว่า  “โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ”  ซึ่งพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งของอำเภอท่ายาง ให้กลายเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิด เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกร ปัจจุบันภายในพื้นที่  “โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ”  มีแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิด และมีฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่ พร้อมด้วยพื้นที่ทางการเกษตรที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาศึกษา เยี่ยมชม

ผลผลิตของโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
ผลผลิตที่ได้รับ 1.กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน 2.พืชผัก   ปลอดสารพิษ 3.ต้นสบู่ดำ 4.การปลูกข้าวสารพันธ์ต่างๆ   5.การปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง   6.ต้นหน่อไม้ฝรั่ง  

การบริหารโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
การบริหารโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรีได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ประกอบด้วย คณะทำงาน 5 คณะ ได้แก่ คณะทำงานฝ่ายอำนวยการ   นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี เป็นเลขานุการ คณะทำงานสนับสนุนการจัดโครงสร้างพื้นฐาน  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี (รอง1) เป็นประธาน และนายอำเภอ ท่ายาง เป็นเลขานุการ คณะทำงานฝ่ายสนับสนุนและบูรณาการโครงการด้านการเกษตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี (รอง 2) เป็นประธาน และเกษตรจังหวัดเพชรบุรี เป็นเลขานุการ คณะทำงานฝ่ายปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ   เกษตรอำเภอท่ายาง เป็นประธาน และนายปิยวัฒน์ คำมูล นักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอท่ายาง เป็นเลขานุการ คณะทำงานฝ่ายจัดระเบียบการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่โครงการ   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธาน และสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรท่าไม้รวก เป็นเลขานุการ

สถานที่ตั้งโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
สถานที่ตั้งโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ สถานที่ตั้ง           เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่เชื่อมติดต่อกับตำบลกลัดหลวงและตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง ที่จุดพิกัด 47PNQ770-092 ระวาง 4934 III แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ติดอ่างเก็บน้ำหนองเสือ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก การเดินทาง           จากอำเภอท่ายางผ่านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี ไปตามเส้นทางตำบลท่าไม้รวก ผ่านที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระปุก - เขาเตาหม้อ ผ่านโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ถึงโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป็นระยะทางประมาณ 47 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เดิม         เป็นพื้นที่ที่เป็นเขตแห้งแล้งมีปริมาณฝนตกน้อย โดยปกติจะมีเมฆฝนครึ้ม แต่ส่วนใหญ่จะถูกแรงลมพัดไปตกในพื้นที่อื่นพื้นที่เดิมเกษตกรทำการปลูกพืชไร่ ได้แก่ สับปะรด อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ผลไม้ยืนต้น ได้แก่ มะนาว มะละกอ กล้วยและยูคาลิปตัส แหล่งน้ำ         บ่อขุด         อ่างเก็บน้ำหนองเสือ

การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ -   การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน -    การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ -   การสาธิตการปลูกสบู่ดำ -    การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ   -    แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง -   แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง -    การทำปุ๋ยหมัก -    การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาวฟักทอง กล้วย       อ้อย มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวห้าว ฯลฯ -    การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูปเปอร์ฮอต มะเขือเทศราชินี               กระเจี๊ยบเขียว วอเตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการชั่งหัวมัน 1.  เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ  พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง  และของจังหวัดเพชรบุรี 2.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร 3.  เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์

ความเป็นมาของโครงการชั่งหัวมัน

รูปภาพ
​ประวัติความเป็นมา โครงการช่างหัวมัน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551           พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงซื้อที่ดินจากราษฎร  พื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่  หมู่ที่ 5 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี  ต่อมา ปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 250 ไร่  และทรงมีดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร  รวบรวมพันธุ์พืชเศรษกิจในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง มาปลูกไว้ที่นี่  โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฏาคม 2552 เป็นต้นมา           สภาพพื้นที่โดยทั่วๆ ไป แห้งแล้ง ดินปนทรายและหินลูกรัง  เจ้าของที่ดินเดิมปลูกต้นยูคาลิปไว้และตัดไม้ขายไปแล้ว  มีแต่ต้นยูคาลิปที่งอกมาจากต้นตอเดิมเต็มพื้นที่         มีแปลงมะนาวเดิมอยู่ประมาณ 35 ไร่ และแปลงปลูกอ้อย 30 ไร่ จึงได้พัฒนาพื้นที่ ให้เป็นแปลงปลูกพืชเศรฐกิจ ซึ่งมีทั้งพืชผักสวนครัว  นาข้าว สวนไม้ผล ยางพารา มะพร้าว      สัปรด พืชไร่ ฯลฯ  กองงานส่วนพระองค์ ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาช่วยกันปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ เช่น การทำถนนเข้าโครงก

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชา เรื่องโครงการชั่งหัวมัน

กลุ่มข้าพระเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงการชั่งหัวมัน ได้รับประโยชน์ดังนี้ 1. ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเกษตร  2. ได้ใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์ 3. ได้รับรู้ถึงทรัพยากรที่มีค่า ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์ พระราชา โครงการชั่งหัวมัน มีดังนี้                   สมาชิกคนที่1 เด็กชาย คณิน เหลืองบริบูรณะ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร ความคิดเห็น ผมคิดว่า เป็นโครงการที่ช่วยการเกษตรแก่เกษตรกรได้อย่างมาก สมาชิกคนที่2 เด็กชาย ชุติพนธ์ ตะสันเทียะ  ความคิดเห็น ผมคิดว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อประชาชนไทย สมาชิกคนที่3 เด็กชาย นวพล รุ่งเรือง ความคิดเห็น ผมคิดว่า เป็นโครงการที่ดีให้แก่ประชาชนไทย สมาชิกคนที่4 เด็กชายวีระศักดิ์ อวบสันเทียะ ความคิดเห็น ผมคิดว่า เป็นโครงการที่ควรนำไปใช่ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้ 1.สามารถนำไปใช่กับการเกษตรได้                        2.ทำให้เราใช่ทรัพยากรให้มีประโยชน์ได้มากที่สุด

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
คณะผุ้จัดทำ 1.เด็กชาย คณิน เหลืองบริบูรณะ ชั้น ม.2/2 เลขที่3 2เด็กชาย ชุุติพนธ์ ตะสันเทียะ ชั่น ม.2/2 เลขที่่ 5 3เด็กชาย นวพล รุ่งเรือง ม.2/2 เลขที่ 8 4เด็กชาย วีระศ้กดิ์ อวบสันเทียะ ม.2/2 เลขที่ 14